อุบัติเหตุที่ 4 ที่ต้องระวังของเศรษฐกิจไทย

ธุรกิจ

สองเดือนก่อน ผมเขียนถึงสามอุบัติเหตุหรือสามฉากทัศน์ ที่หากเกิดขึ้นจะทำให้ภาพเศรษฐกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

 

 ธุรกิจ

 

มองว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะสูงกว่าในปีนี้ ไม่เป็นไปตามที่ ธปท. คาด สามฉากทัศน์ ได้แก่ (1) การส่งออกสินค้าหดตัว (2) ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องทั้งปี 2566 และ (3) เงินเฟ้อไทยไม่ลดลงมาใกล้เคียงกับขอบบนของเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท. ที่ร้อยละ 3 ต่อปี

โดยผมเรียงความน่าจะเป็นของแต่ละฉากทัศน์จากสูงไปต่ำตามลำดับ 1 2 3 แต่ในแง่ของผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ฉากทัศน์ที่ 2 จะเลวร้ายที่สุด ตามด้วยฉากทัศน์ที่ 3 และฉากทัศน์ที่ 1 ตามลำดับ

ผ่านมาสองเดือน ผมยังเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้าจะดีกว่าปีนี้ และจากข้อมูลเงินเฟ้อที่ออกมาล่าสุด ฉากทัศน์ที่ 3 น่าจะสามารถตัดทิ้งได้ อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามสองฉากทัศน์แรกใกล้ชิด

ที่สำคัญ สำนักวิเคราะห์แห่งหนึ่งไม่ได้มองว่า ฉากทัศน์ที่หนึ่งเป็นแค่ความเสี่ยง แต่เป็นกรณีฐาน หรือกรณีที่มีความเป็นไปได้สูงสุด โดยให้เศรษฐกิจไทยปีหน้าขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 3 จากการส่งออกสินค้าที่ติดลบ

วันนี้ ผมขอเขียนถึงอุบัติเหตุหรือฉากทัศน์ที่ 4 ซึ่งเมื่อเทียบกับสามฉากทัศน์ที่ผมกล่าวมาข้างต้น ฉากทัศน์นี้จะใกล้เคียงกับคำว่าอุบัติเหตุมากที่สุด คือ เหตุการณ์ที่อุบัติโดยไม่คาดคิดในตลาดการเงินระหว่างประเทศ